เมนู

อรรถกถาอุปาลิสูตรที่ 9


อุปาลิสูตรที่ 9

พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ทุรภิสมฺภวานิ หิ ได้แก่ มีได้ยาก หาได้ยาก. ท่านอธิบายว่า
ผู้มีศักดิ์น้อยไม่อาจที่จะยึดไว้ได้. บทว่า อรญฺญวนปตฺถานิ ความว่า ป่า
ใหญ่และป่าทึบ ชื่อว่า อรัญญะ เพราะสำเร็จองค์ของความเป็นป่า. ชื่อว่า
วนปัตถะ เพราะเลยละแวกบ้าน เป็นสถานที่หมู่คนไม่เข้าไปใกล้. บทว่า
ปนฺตานิ ได้แก่ ไกลเหลือเกิน. บทว่า ทุกฺกรํ ปวิเวกํ ได้แก่ กายวิเวก
ที่ทำยาก. บทว่า ทุรภิรมํ ได้แก่ ไม่ใช่ยินดีได้ง่าย ๆ. บทว่า เอกตฺเต
แปลว่า ในความเป็นผู้อยู่ผู้เดียว. ทรงแสดงอะไร. ทรงแสดงว่า แม้เมื่อ
กระทำกายวิเวกได้แล้ว ก็ยากที่จะให้จิตยินดีในเสนาสนะนั้น . จริงอยู่
โลกนี้มีของเป็นคู่ ๆกันเป็นที่ยินดี. บทว่า หรนฺติ มญฺเญ ได้แก่เหมือน
นำไป เหมือนสีไป. บทว่า มโน ได้แก่ จิต. บทว่า สมาธึ อลภมานสฺส
ได้แก่ ผู้ไม่ได้อุปจารสมาธิหรืออัปปนาสมาธิ. ทรงแสดงอะไร. ทรง
แสดงว่า วนะทั้งหลาย เหมือนจะกระทำจิตของภิกษุเช่นนี้ให้ฟุ้งซ่าน
ด้วยสิ่งใบหญ้าและเนื้อ เป็นต้น และสิ่งน่ากลัวมีอย่างต่าง ๆ. บทว่า
สํสีทิสฺสติ ได้แก่ จักจมลงด้วยกามวิตก. บทว่า อุปฺปิลวิสฺสติ ได้แก่
จักลอยขึ้นเบื้องบนด้วยพยาบาทวิตกและวิหิงสาวิตก.
บทว่า กณฺณสนฺโธวิกํ ได้แก่ เล่นล้างหู. บทว่า ปิฏฺฐิสนฺโธวิกํ
ได้แก่ เล่นล้างหลัง. ทั้งสองอย่างนั้น การจับงวงและรดน้ำที่หูสองข้าง
ชื่อว่า กัณณสันโธวิกะ รดน้ำที่หลัง ชื่อว่า ปิฏฐิสันโธวิกะ. บทว่า คาธํ
วินฺทติ ได้แก่ ได้ที่พึ่ง.

บทว่า โก จาหํ โก จ หตฺถินาโค ความว่า เราเป็นอะไร พระยา-
ช้างเป็นอะไร ด้วยว่า ทั้งเราทั้งพระยาช้างนี้ ก็เป็นสัตว์ดิรัจฉาน ทั้งพระ-
ยาช้างนี้ก็ 4 เท้า ทั้งเราก็ 4 เท้า แม้เราทั้งสองก็เสมอ ๆ กันมิใช่หรือ.
บทว่า วงฺกํ ได้แก่ ไถน้อย ๆ สำหรับเด็กเล่น. บทว่า ฆฏิกํ ได้แก่
เครื่องเล่นไม้สั้นประหารด้วยไม้ยาว (ไม่หึ่ง). บทว่า โมกฺขขิกํ ได้แก่
เครื่องเล่นเวียนไปรอบ ๆ ท่านอธิบายว่า เครื่องเล่นที่จับหางไว้บนอากาศ
วางหัวลงดิน หมุนเวียนไปทั้งข้างล่างข้างบน(กังหันไม้). บทว่า จิงฺคุลิกํ
ได้แก่ เครื่องเล่นมีล้อที่ทำด้วยใบตาลเป็นต้น หมุนไปได้เพราะลมดี
(กังหันใบไม้). ทะนานใบ ไม้เรียกว่า ปัตตาฬหกะ พวกเด็กๆเอาใบไม้
ต่างทะนานนั้นตวงทรายเล่น. บทว่า รถกํ ได้แก่รถน้อย ๆ. บทว่า ธนุกํ
ได้แก่ ธนูน้อย ๆ.
คำว่า โว ในคำว่า อิธ โข ปน โว เป็นเพียงนิบาต. อธิบายว่า
ในโลกนี้แล. บทว่า อิงฺฆ ในคำว่า อิงฺฆ ตฺวํ อุปาลิ สงฺเฆ วิหราหิ นี้
เป็นนิบาตลงในอรรถว่าเตือน ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรง
เตือนพระเถระ เพื่อประโยชน์แก่การอยู่ท่ามกลางสงฆ์ มิใช่ทรงอนุญาต
การอยู่ป่าแก่พระเถระนั้น . เพราะเหตุไร. เพราะพระศาสดาทรงพระดำริ
ว่า ได้ยินว่า พระเถระอยู่ในเสนาสนะป่าจักบำเพ็ญได้ แต่วาสธุระอย่าง
เดียว (วิปัสสนาธุระ) บำเพ็ญคันถธุระไม่ได้ แต่พระเถระเมื่ออยู่ท่าม-
กลางสงฆ์บำเพ็ญธุระแม้ทั้งสองนี้ได้ แล้วจักบรรลุพระอรหัต ทั้งจักเป็น
หัวหน้าในฝ่ายวินัยปิฎก ดังนี้นั้นจำเราจักกล่าวความปรารถนาแต่ก่อนและ
บุญเก่าของเธอ จักสถาปนาภิกษุนี้ไว้ในตำแหน่งเป็นเลิศของเหล่าภิกษุ

ผู้ทรงวินัยในท่ามกลางบริษัท เมื่อทรงเห็นความข้อนี้ จึงไม่ทรงอนุญาต
การอยู่ป่าแก่พระเถระ.
จบอรรถกถาอุปาลิสูตรที่ 9

10. อภัพพสูตร


ว่าด้วยบุคคลละธรรม 10 ประการไม่ได้ เป็นผู้ไม่ควร


ทำให้แจ้งอรหัต


[100] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลยังละธรรม 10 ประการนี้ไม่ได้
แล้ว ก็เป็นผู้ไม่ควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัต ธรรม 10 ประการเป็นไฉน
คือ ราคะ 1 โทสะ 1 โมหะ 1 โกธะ 1 อุปนาหะ 1 มักขะ 1 ปฬาสะ 1
อิสสา 1 มัจฉริยะ 1 มานะ 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลยังละธรรม
10 ประการนี้แลไม่ได้ ก็เป็นผู้ไม่ควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัต ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย บุคคลละธรรม 10 ประการนี้ได้แล้ว จึงเป็นผู้ควรเพื่อทำให้
แจ้งซึ่งอรหัต ธรรม 10 ประการเป็นไฉน คือ ราคะ1 โทสะ 1 โมหะ 1
โกธะ 1 อุปนาหะ 1 มักขะ 1 ปฬาสะ 1 อิสสา 1 มัจฉริยะ 1 มานะ1
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม 10 ประการนี้แลได้แล้ว จึงเป็นผู้
ควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัต.
จบอภัพพสูตรที่ 10
จบอุบาสกวรรคที่ 5